BCTC: ใครจะเป็นบริษัทดาวรุ่งในวงการกาแฟของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้?

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแบรนด์ท้องถิ่นมากมายทั้งเล็กและใหญ่ และแบรนด์กาแฟใหม่ๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ยังเห็นสตาร์บัคส์อยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ที่แข่งขันกับสตาร์บัคส์ หรือแบรนด์ที่เดินตามเส้นทางการบริหารที่ให้คุณภาพสูงในราคาที่ต่ำ กาแฟของจีนอย่าง "瑞幸" (luckincoffee) ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้คอกาแฟในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มองเห็นโอกาส แบรนด์กาแฟท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พยายามเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมไปพร้อมกัน แต่ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากการขยายตัวของกาแฟระดับโลกด้วย

แพลตฟอร์ม BCTC กล่าวว่า ตลาดของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และจีน สตาร์บัคส์ครองส่วนแบ่งตลาด 20% โดยมีร้านค้ามากกว่า 3,200 สาขา ส่วน McCafé ซึ่งได้ประโยชน์จากอิทธิพลของแมคโดนัลด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 โดยมีร้านค้ามากกว่า 1,500 สาขาใน 9 ประเทศและภูมิภาคนี้ เพื่อขยายตลาดต่อไป เนสท์เล่และสตาร์บัคส์ได้ประกาศความร่วมมือในเดือนสิงหาคม 2021 โดยจะเปิดตัวกาแฟพร้อมดื่มในขวดและกระป๋องของสตาร์บัคส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนีย และลาตินอเมริกาในปี 2022 โดยเนสท์เล่จะขายผลิตภัณฑ์กาแฟพร้อมดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของสตาร์บัคส์ เช่น Doubleshot และเฟรปปูชิโน่ ผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าปลีกออนไลน์ เมื่อเทียบกับกาแฟสดแล้ว ราคากาแฟพร้อมดื่มจากแบรนด์ระดับโลกอาจดึงดูดผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มากกว่า

นอกจากนี้ แบรนด์จากเอเชียมองเห็นโอกาสในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นการจำหน่ายกาแฟพร้อมดื่มและกาแฟสำเร็จรูป ในเดือนพฤศจิกายน 2021 บริษัทผลิตเครื่องดื่มและอาหารจากญี่ปุ่น (Suntory Group) ได้เปิดตัวแบรนด์กาแฟ Boss ในประเทศไทย โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนทำงานออฟฟิศและผู้ที่ชื่นชอบเครื่องดื่มระดับพรีเมียม

กาแฟ Boss ขายอยู่ในราคาขวดละ 25 ถึง 35 บาท (ประมาณ 0.77 ดอลลาร์สหรัฐถึง 1.07 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมีราคาสูงกว่ากาแฟกระป๋องแบบทั่วไปในประเทศไทยประมาณ 20% ในขณะเดียวกัน คู่แข่งญี่ปุ่นของซันโตรี่ คือ บริษัท (Asahi Group) ขยายแบรนด์กาแฟ Wonda ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เปิดตัวกาแฟสำเร็จรูป ในมาเลเซียในเดือนตุลาคม 2021 พร้อมได้รับการรับรองฮาลาล บริษัทยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Wonda ในสิงคโปร์ บรูไน และกำลังพิจารณาขยายตลาดกาแฟสำเร็จรูปไปยังประเทศอื่นๆ

ในปี 2021 เป๊ปซี่ได้ร่วมมือกับวงเกาหลีชื่อดังอย่างวง BlackPink ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์กาแฟพร้อมดื่ม ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กระแส K-pop นี้ส่งผลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ในมาเลเซียและสิงคโปร์ได้เปิดตัวกาแฟพร้อมดื่ม HY Coffee Range โดยมีวงบอยแบนด์ชื่อดังอย่าง BTS เป็นพรีเซ็นเตอร์ร่วมโปรโมทกาแฟ

มุมมองในเรื่องราคา แบรนด์กาแฟในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าใจจิตวิทยาของผู้บริโภคต่อราคาได้ดี และสร้างข้อได้เปรียบให้กับตัวเอง กาแฟสำเร็จรูปที่ผลิตจากเมล็ดกาแฟโรบัสต้ามีราคาถูก ราคากาแฟสดก็ยังอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ เช่น กาแฟ Kopi Kenangan ราคาเฉลี่ยต่อแก้วอยู่ระหว่าง 18,000 ถึง 22,000 รูเปียห์อินโดนีเซีย (ประมาณ 1.26 ถึง 1.53 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นราคาครึ่งหนึ่งของกาแฟสตาร์บัคส์ที่ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อแก้ว; กาแฟ Fore Coffee มีราคาถูกกว่าสตาร์บัคส์ประมาณ 70 ถึง 1.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อแก้ว แม้จะรวมค่าจัดส่งแล้ว ความคุ้มค่าก็ยังเหนือกว่า เช่นเดียวกับ Kopi Kenangan และ Fore Coffee กาแฟ Flash Coffee ก็เน้นที่ความคุ้มค่า โดยราคาของลาเต้ 1 แก้วอยู่ที่ 4.8 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 3.56 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งถูกกว่า 7 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 5.21 ดอลลาร์สหรัฐ) ของสตาร์บัคส์ ประมาณ 45% และ The Coffee House ก็จับกลุ่มผู้บริโภคในระดับกลาง โดยราคาต่อแก้วอยู่ที่ 1.3 ถึง 2.5 ดอลลาร์สหรัฐ/แก้ว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากปัจจัยด้านราคาแล้ว ธุรกิจกาแฟยังมีข้อได้เปรียบในด้านแบรนด์ จำนวนสาขาที่มากกว่า และผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้การสนับสนุนแบรนด์ท้องถิ่น เช่น ในตลาดเวียดนาม แบรนด์กาแฟท้องถิ่นได้รับความนิยมมากกว่าแบรนด์ระดับโลก เช่น สตาร์บัคส์ และแบรนด์กาแฟเวียดนามยังขยายสาขาเพิ่มขึ้น โดยกาแฟ Trung Nguyen และ Highlands Coffee มีสาขามากกว่า 300 แห่ง ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากและทำให้แบรนด์ท้องถิ่นสามารถแข่งขันกับแบรนด์ต่างชาติได้

นอกจากนี้ ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมาตรการเรื่องการดูแลสุขภาพที่สูงขึ้น จากแพลตฟอร์ม BCTC พบว่า 42% ของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กาแฟนั้นต้องดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Northwestern ในสหรัฐอเมริกาชี้ว่า กาแฟนอกจากจะมีคาเฟอีนแล้ว ยังมีสารหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงสารโพลีฟีนอล ซึ่งช่วยในเรื่องการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ Fore Coffee จึงได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 4 ชนิดในปี 2021  Manuka Series เป็นผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งจากนิวซีแลนด์ ที่มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวด บรรเทาไข้ ฆ่าเชื้อ และป้องกันหวัด เป็นต้น

ในระยะยาว การแข่งขันระหว่างแบรนด์กาแฟระดับนานาชาติและแบรนด์กาแฟท้องถิ่นจะเพิ่มมากขึ้น คอกาแฟระดับนานาชาติจะไม่พลาดโอกาสในตลาดกาแฟของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเติบโตและมีศักยภาพ ส่วนคอกาแฟท้องถิ่น เริ่มตระหนักถึงการใช้จุดแข็งของแหล่งผลิตกาแฟ เพื่อสร้างแบรนด์กาแฟของตนเอง คอกาแฟจากจีนที่จะนำโมเดลมาใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การแข่งขันเหล่านี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีทางเลือกในผลิตภัณฑ์กาแฟที่มากขึ้น ได้มีโอกาสเรียนรู้จากตัวอย่างในโลกของธุรกิจค้าปลีกและการลงทุน